วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561



ฝาง มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดแรกแก่นไม้จะเป็นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” กับอีกชนิดหนึ่งแก่นไม้จะเป็นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” ทั้ง 2 ชนิดมีประโยชน์และมีสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกันได้แก่ แก่นไม้เมื่อนำไปต้มกับน้ำ เคี่ยวจะได้น้ำเป็นสีแดงเข้มคล้ายสีของ ด่างทับทิม ใช้ย้อมผ้าและไหมได้งดงามมาก


สรรพคุณทางยา ตำรายาแผนไทยระบุว่า แก่นมีรสขื่นขมและฝาดต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำให้โลหิตเย็น แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา สรรพคุณแผลง แก่นรสชาติขมปนหวาน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิตและแก้กำเดาได้ 



น้ำสมุนไพร 3 สี ช่วยคลายร้อน
แม้จะมีพายุฤดูร้อนพาเอาฝนและความชื้นมาช่วยคลายร้อนไปบ้าง (บางวัน) แต่ความร้อนระอุเหนือคำบรรยายยังแผ่คลุมประเทศไทยไปอีกสักระยะ แทนที่จะหนีไปไหนเปลี่ยนมาอยู่เมืองไทยร้อนๆ ด้วยความสุขกับการดื่มน้ำสมุนไพร 3 สี ช่วยคลายร้อนดีกว่า
สีน้ำที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้เกี่ยวพันกับการเมืองเรื่องสีแต่อย่างใด
ทั้ง 3 สีแม้จะต่างกันลิบลับแต่ก็ช่วยดับร้อนได้เหมือนกันจริงๆ นะ



อันดับแรก น้ำสีแดง คิดถึงน้ำอะไรที่ช่วยแก้ร้อนได้ดี? ปกติสีแดงแรงฤทธิ์น่าจะทวีความรุ่มร้อนขึ้น แต่สี
แดงของสมุนไพรต้นนี้ เรียกว่าสีแดงแซพปาน (sappan red) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพืชสามัญว่า ต้นแซพปาน (Sappan Tree) และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan L. เรียกชื่อกันทั่วไปว่า ต้นฝาง หรือฝางเสน นั่นเอง ฝางเสนนี้เป็นส่วนผสมของน้ำยาอุทัยอันเลื่องชื่อ ที่คนไทยรู้จักกันมากว่าครึ่งศตวรรษ น้ำยาอุทัยนี้นำมาผสมในน้ำดื่มให้มีกลิ่นหอมและมีประโยชน์ในการช่วยดับกระหายคลายร้อนนั่นเองสีแดงของแก่นฝางมาจากสาร “แซพปานิน” (sappanin) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการอักเสบ แก้ท้องร่วงทีนี้ในฝางยังมีสารอีกชนิดที่ให้สีชมพูอมส้มถึงแดง เรียกชื่อสาร “บราซิลิน” ซึ่งว่าตามสรรพคุณแต่โบราณจะช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิตทำให้โลหิตเย็น กระจายโลหิต ขับระดู แก้เลือดกำเดา แก้ไข้ แก้ร้อนใน ระงับอาการหอบหืด แล้วมาตรงกับผลการวิจัยทางเภสัชวิทยาสมัยใหม่ว่าสารสำคัญชนิดนี้เป็นสารต้านฮีสตามีน (antihistamin) ช่วยแก้ลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตเป็นปกติ และ แก้อาการหัวใจขาดเลือด
ฝางมีฤทธิ์เย็นและกระจายโลหิต เมื่อนำมาต้มดื่มจึงช่วยแก้ร้อนในฤดูร้อนได้ วิธีต้มน้ำ ใช้แก่นฝางเสนตอกเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ครั้งละ 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรครึ่ง ต้มเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนๆ จนน้ำงวดเหลือ 1ลิตร ดื่มอุ่นหรือทิ้งให้เย็นก็ได้ ดื่มสลับกับน้ำเปล่า เพราะอากาศร้อนๆ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ดื่มน้ำฝางอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-บ่าย จะช่วยควบคุมความร้อนในร่างกายได้ดีใครที่ยังคิดถึงแม่การะเกด พี่หมื่นในสมัยพระนารายณ์ ก็ขอบอกว่า ฝางเป็นยาดีที่ใช้กันมาในตำรับพระโอสถพระนารายณ์ ใช้คู่กับเปลือกต้นมะขามป้อมอย่างละเท่าๆ กัน ต้มน้ำ 4 เอา 1 ท่านว่า “กินแก้ตกมูกตกหนัก (แก้ท้องเสีย) หยุดเป็นอันเที่ยงแท้ ได้รอดจากความตายเป็นหลายคนมาแล้ว”
แต่ถ้าหาเปลือกต้นมะขามป้อมไม่ได้ จะใช้แก่นฝางอย่างเดียวก็เอาอยู่

นํ้าสีเหลือง ท่านว่าคือสมุนไพรชนิดใดที่ช่วยคลายร้อนได้? อ้างตามตำรา “แพทยศาสตร์สงเคราะห์” ซึ่งเขียนขึ้นตามพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 5 เพื่อรวบรวมชำระความรู้ให้ถูกต้องเพื่อนำมาใช้บำบัดโรคภัยต่างๆ
บันทึกของตำรานี้อาจมองว่าเป็นตำราให้หมอหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้นำมาบำบัดโรคให้คนไข้
แต่ถ้าอ่านดูจะพบว่าชาวบ้านสามารถนำความรู้มาใช้พึ่งตนเองได้ เช่น สู้กับลมร้อนในตำราว่าให้ดื่มน้ำอ้อย สีเหลืองอ่อนๆ แก้ได้
ในตำรากล่าวว่า “น้ำอ้อยสดมี รสหวานและเย็น กินปัสสาวะออกมาก เจริญอายุ ให้มีกำลัง แก้ไข้กำเดาและลม กระจายเสมหะ ผายธาตุ น้ำอ้อยต้มและอ้อยเผา มีรสหวานยิ่งกินแก้เสมหะ หืดไอ แก้ไข้สัมประชวร”
ดูจากตำรายืนยันได้ว่า น้ำอ้อยสดใช้บำรุงกำลังและมีสรรพคุณมากมายแล้ว ที่อธิบายว่าใช้ได้ดีกับความร้อนในฤดูร้อน คือ การแก้ไข้กำเดาและลม หมายถึงเป็นไข้หวัดตัวร้อน ซึ่งแต่โบราณให้ความสำคัญกับการแก้อาการที่กองลมในร่างกายด้วยเพราะลมจะทำให้ตัวร้อนรุ่ม เหงื่อออกมาก แล้วกลับหนาวสะท้าน ปวดศีรษะ ไอ อาเจียน กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร อากาศเมืองไทยในบางวันช่วงกลางคืนเย็นๆ กลางวันร้อนจัด แบบนี้ทำให้เป็นไข้กำเดาได้ ก็ให้ดื่มน้ำอ้อยคั้นสด ครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 3-4 แก้ว ก่อนอาหารและก่อนนอน
ชาวจีนนิยมกินน้ำอ้อยหรือใช้ส่วนลำต้นและข้อมาคั้นน้ำกิน ซึ่งมีรสหวานชุ่มและเย็น แก้ร้อนใน บำรุงกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ คอแห้ง แก้อาการร้อนรุ่มกลุ้มใจ คลื่นไส้อาเจียน และท้องผูกด้วย น้ำอ้อยคั้นสด หรือจะใช้เทคนิคพิเศษนำลำอ้อยไปเผาไฟจนมีน้ำไหลออกมา แล้วค่อยนำไปคั้นกิน
หรือบางคนเอาน้ำอ้อยสดๆ ไปอุ่นหรือต้มสักครู่จะมีกลิ่นหอมและรสหวานอร่อยมาก ดื่มน้ำอ้อยเหลืองสวยคลายร้อนได้ดีเช่นกัน




นํ้าสมุนไพรชนิดที่ 3 สีเขียวเข้มมีฤทธิ์เย็นจัดแก้ร้อนในกระหายน้ำได้ดี คือ บัวบก ในตำรายาไทย กล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อน ขม เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอาการเริ่มเป็นบิด แก้ลมแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะ แต่บัวบกเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ทั้งชาวอินเดียและจีน
ตำราอายุรเวทกล่าวถึงบัวบกมีรสขมหวาน ย่อยได้ง่าย และเป็นยาเย็น ยาระบาย ยาบำรุงช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยบำรุงเสียง ช่วยให้ความจำดีขึ้น เป็นยาเจริญอาหาร ใช้แก้ไข้ แก้อักเสบ ชาวจีนนิยมใช้บัวบกแก้อาการช้ำใน และแก้อาการร้อนในกันอย่างกว้างขวาง
วันที่อากาศร้อนๆ ลองหาใบและรากบัวบก 1 กำมือ หั่นใบบัวบกพอหยาบๆ แล้วใส่ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำสุก 1 แก้ว ปั่นให้ละเอียด กรองแล้วคั้นเอาแต่น้ำบัวบก ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วเติมน้ำเชื่อมตามใจชอบ (เล็กน้อย) ดื่มเลยหรือนำไปแช่ตู้เย็น หรือใส่น้ำแข็ง ดื่มแบบเย็นๆ ช่วยไล่ความร้อนในร่างกายได้ดี ดื่มแล้วชื่นใจ จะทำไว้ปริมาณมากๆ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นแบ่งมากินวันละ 1 แก้วพอ กินสัก 2-3 วันในวันอากาศร้อนๆ ก็จะคลายร้อนได้
ใครนิยมชมชอบน้ำสมุนไพรสีไหน ก็ทำดื่มแก้ร้อนได้ตามอัธยาศัย
ไม่แน่ใจว่าเด็กสมัยนี้จะรู้จัก “น้ำยาอุทัย” กันอยู่หรือเปล่า น้ำแดงๆ หยดลงน้ำเย็น กลิ่นหอมชื่นใจ ยิ่งใครได้ดื่มจากขันที่มีน้ำแข็งก้อนใหญ่ๆ ลอยอยู่ด้วยล่ะก็ บอกเลยว่าหลายคนมีฟิน แต่ของแบบนี้จะเรียกว่า “ไม่รัก ก็เกลียดไปเลย” ได้เหมือนกัน เพราะบางคนขอบาย แค่ได้กลิ่นก็เวียนหัวแล้ว

นอกจากน้ำยาอุทัยมีไว้ผสมน้ำดื่มแล้ว ยังมีวัยรุ่นบางคนที่อยากมีปากแดงๆ แก้มแดงอมชมพู นำน้ำยาอุทัยมาทาปากทาแก้มแทนเครื่องสำอางปกติอีกด้วย เรียกได้ว่าประโยชน์คูณสองจริงๆแต่.... ใครก็ตามที่ทั้งดื่ม ทั้งทา ทั้งติดใจเจ้าน้ำยาสีแดงๆ นี้เป็นเวลานานๆ อาจกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ทาปากทาแก้มแล้ว ปากจะดำ แก้มจะเป็นฝ้าเป็นกระหรือเปล่า
ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า น้ำยาอุทัย มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ส่วนประกอบของน้ำยาอุทัย
1. ฝาง
ส่วนประกอบหลักของน้ำยาอุทัย ที่ทำให้น้ำยาอุทัยเป็นสีแดง ฝางช่วยบำรุงโลหิต บางคนต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติด้วย
 2. ดอกพิกุล
ให้รสเย็น ช่วยลดไข้ บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 3. ดอกมะลิ
ให้รสเย็นชื่นใจเช่นเดียวกัน บำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
 4. หญ้าฝรั่น
หญ้าฝรั่นช่วยลดไข้ บำรุงเลือด บำรุงธาตุ และเป็นยาชูกำลัง
 5. ดอกสารภี
แม้ว่าดอกสารภีจะมีรสขม แต่ก็ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยให้เจริญอาหาร และบำรุงหัวใจ
 6. ดอกบุนนาค
ดอกบุนนาคเป็นอีกส่วนผสมที่มีรสขมนิดๆ ช่วยลดไข้ ขับลม แก้ตาพร่ามัว บำรุงธาตุ บำรุงโลหิตและบำรุงหัวใจ
 7. ดอกคำฝอย
ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
 8. ดอกเก็กฮวย
ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยบำรุงหัวใจ
 9. เกสรบัวหลวง
เกสรดอกบัวอาจมีรสฝาดนิดๆ แต่ก็ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น และแก้อาการวิงเวียน หน้ามืด
 10. อบเชย
อบเชยมีฤทธิ์ช่วยแก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ และเป็นยาขับลม
 11. กฤษณา
มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงโลหิต แก้ท้องร่วง และอาเจียน
 12. จันทน์แดง
ช่วยบำรุงเลือด
 13. โกศหัวบัว
ช่วยขับลม
 14. โกศเขมา
แก้โรคในปาก ในคอ แก้หอบ แบะช่วยขับลม
 15. โกศสอ
ลดไข้ แก้ไอ ช่วยขับลม และบำรุงหัวใจ
 16. โกศเชียง
ลดไข้ แก้ไอ ขับลม และช่วยบำรุงเลือดทั้งนี้ น้ำยาอุทัยแต่ละเจ้า อาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละที่ แต่ที่เป็นส่วนผสมหลักคือ ฝาง ที่มีฤทธิ์บำรุงโลหิต และสมุนไพรอื่นๆ ที่เน้นเรื่องของการลดความกระหายน้ำ และให้ฤทธิ์เย็น ลดความร้อน จึงเหมาะกับอากาศบ้านเรา และเป็นนิยมของใครหลายคน ด้วยกลิ่น และรสชาติที่เย็นชื่นใจ
 น้ำยาอุทัย อันตรายหรือไม่? จากส่วนผสมที่เน้นเรื่องการลดอุณหภูมิร้อนในร่างกาย ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการนำมาดื่มมาทานช่วงฤดูหนาว หรือเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะแวดล้อมเย็นๆ ส่วนเรื่องทาปากทาแก้มแล้วจะเป็นอันตรายหรือไม่ น่าจะเป็นที่แต่ละบุคคลมากกว่า ว่าจะมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมใดส่วนผสมหนึ่งในน้ำอุทัยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากเกินไป ย่อมไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้นถึงแม้ว่าจะติดอกติดใจกลิ่นหอมสดชื่น และรสเย็นฉ่ำของน้ำยาอุทัยมากเท่าไร ก็อย่าทานมากจนเกินไปจะดีกว่าค่ะ ผสมทานบางๆ นานๆ ดื่มทีเมื่อต้องการความสดชื่น ก็น่าจะเพียงพอแล้วเนอะ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

นพรัตน์ วรแสน
แพรพรรณ จิลากาหงษ์
อัญชลิตา   จินดา
ทัศนะ  โชคช่วง
นวลฉวี   ศรีสว่าง


สรรพคุณของฝาง


สรรพคุณของฝาง

ลักษณะของต้นฝาง
  • ต้นฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า ฝางเสนแต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า ฝางส้มพรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน







ใบฝาง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ แก่นช่อใบยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีช่อใบย่อยประมาณ 8-15 คู่ และในแต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 5-18 คู่ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8-20 มิลลิเมตร ปลายใบย่อยกลมถึงเว้าตื้น โคนใบตัดและเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ ใบเกลี้ยงหรือมีขนบ้างประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนาดสั้นมากหรือไม่มีก้านใบ และมีหูใบยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย



ดอกฝาง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และจะออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ช่อดอกยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปใบหอก ร่วงได้ง่าย ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลมและมีขน ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม มีข้อต่อหรือเป็นข้อที่ใกล้ปลายก้าน ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเกลี้ยงที่ขอบมีขนครุย ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน โดยกลีบเลี้ยงล่างสุดจะมีขนาดใหญ่สุดและเว้ามากกว่ากลีบอื่น ๆ ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 6-10 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 9-12 มิลลิเมตร ผิวและขอบกลีบย่น โดยกลีบกลางจะมีขนาดเล็กกว่า มีก้าน กลีบด้านในมีขนจากโคนไปถึงกลางกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 ก้าน แยกจากกันเป็นอิสระ ส่วนก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มีขนสั้นนุ่ม มีช่อง 1 ช่องและมีออวุล 3-6 เม็ด โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม



ผลฝาง ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลม เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8.5 เซนติเมตร และส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อย และด้านปลายฝักจะผายกว้างและมีจะงอยแหลมที่ปลายด้านหนึ่ง ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร โดยจะเป็นผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤษภาคม





 สรรพคุณของฝาง
1.       เนื้อไม้และแก่นเป็นยาแก้ธาตุพิการ (เนื้อไม้, แก่น)
2.       เมล็ดแก่แห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้ (เมล็ด)
3.       เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรคได้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
4.       ตำรับยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี แก้ประดง ระบุให้ใช้แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกิน (แก่น)
5.       ตำรับยาบำรุงกำลังระบุให้ใช้แก่นตากแห้งผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ตานเหลือง ข้าวหลามดง โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ม้ากระทืบโรง มะตันขอ ไม้มะดูก หัวข้าวเย็น และลำต้นฮ่อสะพายควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (แก่น)หรืออีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง กำลังช้างสาร ม้ากระทืบโรง และรากกระจ้อนเน่าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง 1 บาท, ดอกคำไทย 2 สลึงนำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เอา 1 แก้ว ใช้แบ่งกินเช้า, เย็นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย และแก้กษัย (แก่น)
6.       ตำรับยาแก้กษัยระบุให้ใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตยอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)
7.       แก่นฝางมีรสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี (แก่น)
8.       ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน กระจายเลือดที่อุดตัน แก้อาการหัวใจขาดเลือด ทำให้จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก (แก่น)
9.       ช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น (แก่น)
10.   แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน (แก่น)ตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน ระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม, และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลวแล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้กินครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)[7] บ้างว่าใช้แก้ไข้สัมประชวรได้ด้วย (แก่น)
11.   ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูระบุให้ใช้ฝางเสน เกสรบัวหลวง แก่นสน รากลำเจียก รากมะพร้าว รากมะนาว รากเท้ายายม่อม รากย่านาง ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี จันทน์ขาว จันทน์แดง สักขี อย่างละ 1 บาท นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อน ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา โดยให้จิบบ่อย ๆ จนกว่าไข้จะสงบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
12.   น้ำต้มแก่นฝางช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี (แก่น)เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ร้อนใน (เนื้อไม้)
13.   แก่นและเนื้อไม้มีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ (เนื้อไม้, แก่น)
14.   ช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด (แก่น) ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3 บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อยแล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้ (แก่น) ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไอ ไอแบบเป็นหวัดและเจ็บคอ ไอแบบคอแห้ง หรือไอแบบหอบหืด และผู้ที่ไอจากวัณโรคก็บรรเทาได้เช่นกัน รวมไปถึงอาหารปอดหรือหลอดลมอักเสบก็จิบยาแก้ไอขนานนี้ได้ โดยตำรับยาแก้ไอฝาง ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ฝาง 200 กรัม, พริกไทยร่อน 200 กรัม, กานพลู 50 กรัม, สารส้ม 50 กรัม, การบูร 25 กรัม, เมนทอล 25 กรัม, เปลือกหอยแครงแล้วทำเป็นปูนขาว 15 กรัม, ดีน้ำตาลหรือใช้น้ำตาล 2.5 กรัม และน้ำสะอาด 5 ลิตร ส่วนวิธีการปรุงยาให้นำเนื้อไม้ฝางมาสับเป็นซี่เล็ก ๆ คล้ายไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปต้มกับน้ำให้เดือดประมาณ 15-30 นาที และสำหรับส่วนผสมอื่น ๆ ให้นำมาตำให้ละเอียด เก็บใส่ไว้ในโหลก่อน จากนั้นนำน้ำยาต้มฝางที่รอจนอุ่นแล้วมาทาใส่ลงในโหลที่มีตัวยาอื่น ๆ ผสมอยู่ และให้แช่ยานี้ไว้ประมาณ 2-3 วัน (คนยาวันละ 3 ครั้ง) เมื่อครบวันแล้วให้กรองเอาเฉพาะน้ำยามาเก็บไว้ใส่ขวดที่สะอาด เก็บไว้จิบกินตอนมีอาการไอ (ยาแก้ไอฝางสูตรนี้ไม่ควรกินต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการมึนศีรษะและมีความดันต่ำได้ ดังนั้นเมื่อกินจนอาการไอหายแล้วก็ให้หยุดกิน) (เนื้อไม้)
15.   ช่วยแก้โรคหืดหอบได้ด้วย (แก่น)ตามตำรับยาระบุให้ใช้แก่นฝางเสน, แก่นแสมสาร, เถาวัลย์เปรียง, ใบมะคำไก่ อย่างละ 2 บาท 2 สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือด 10 นาที นำมากินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น พอวันต่อมาให้เติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด 5 นาทีแล้วกินเหมือนวันแรก ต้มกินจนยาจืดประมาณ 5 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนยาใหม่ โดยให้ต้มกินไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาย (แก่น)
16.   ช่วยแก้ปอดพิการ (แก่น)
17.   ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ฝาดสมานโรคท้องร่วง ตำรายาไทยระบุให้ใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 500 มิลลิเมตร แล้วเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้ฝาง 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน นำไปต้มเคี่ยว 15 นาที ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะหรือ 4-8 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เนื้อไม้, แก่น)ส่วนน้ำมันหอมระเหยมีสรรพคุณเป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้อาการท้องเดิน (น้ำมันระเหย)
18.   ช่วยแก้บิด (แก่น)
19.   ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (แก่น)
20.   แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับแก่นต้นคูน รากมะเดือยหิน หญ้าถอดปล้อง และใบสับปะรด (แก่น)
21.   ช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น ด้วยการใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตย อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้ (แก่น)
22.   ช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก (เนื้อไม้, แก่น)
23.   ฝางนิยมใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี เนื่องจากช่วยทำให้เลือดดี เช่น ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ด้วยการใช้ฝางเสนหนัก 4 บาทและแก่นขี้เหล็ก 2 บาท นำมาต้มกินก่อนประจำเดือนจำมา จะช่วยทำให้ประจำเดือนไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ ช่วยแก้พิษโลหิตร้าย เป็นยาขับประจำเดือน และบำรุงโลหิต (แก่น)
24.   แก่นใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ช่วยขับระดู (แก่น)ส่วนเนื้อไม้เป็นยาขับระดูอย่างแรง (เนื้อไม้)ตำรายาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนปิดกั้นไม่มา ให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้ดื่มครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้แก่น 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรก (ไม่รวมเมล็ด) ประมาณ 4-6 ฝัก แล้วนำไปเคี่ยวจนเหลือ 1 แก้ว ใช้กินเช้าและเย็น (แก่น)และอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเปลือกลำต้นและเนื้อไม้ เป็นยาแก้ท้องเสียและแก้อาการอักเสบในลำไส้ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
25.   ช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร (แก่น)
26.   ช่วยคุมกำเนิด (แก่น)
27.   ช่วยแก้ดีและโลหิต (เนื้อไม้)
28.   ช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ (แก่น)
29.   ช่วยแก้คุดทะราด (แก่น)
30.   ช่วยรักษามะเร็งเพลิง (แก่น)
31.   ใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
32.   แก่นฝางนำมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้ (แก่น)
33.   ช่วยแก้น้ำกัดเท้า ด้วยการใช้แก่นฝาง 2 ชิ้นนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า จะช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผลได้ (แก่น)
34.   แก่นใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน (แก่น)ตำรายาแก้ฟกช้ำ ระบุให้ใช้แก่นฝาง 60 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้า แบ่งกิน 3 ครั้ง ใช้กินตอนท้องว่าง (แก่น)
35.   ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (แก่น)ตามตำรายาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายระบุให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้รับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง (แก่น)
36.   กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (กิ่ง)
37.   เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)
38.   เนื้อไม้ใช้ผสมกับปูนขาว นำมาบดใช้ทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะ และช่วยลดอาการเจ็บปวด (เนื้อไม้)
39.   ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำรับยาที่ใช้แก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ โดยประกอบไปด้วยเครื่องยา 2 สิ่ง คือ ฝางเสนและเปลือกมะขามป้อมอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำ 4 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียอย่างแรงและเป็นยาแก้บิด (แก่น)
40.   นอกจากนี้ยังใช้ฝางในการรักษาโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคประดง โรคไต ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ และฝางยังเป็นสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรับยาโบราณมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น ยาหอมอินทจักรยาจัทลีลา อยู่ในตำรับยาบำรุงโลหิตต่าง ๆ รวมไปถึงตำรับยาบำรุงโลหิตของสตรีจะขาดฝางเสียไม่ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นฝาง

  • มื่อนำน้ำต้มจากแก่นฝางให้กระต่ายทดลองกิน พบว่าจะทำให้กระต่ายมีอาการหลับได้สนิทขึ้น และหากนำน้ำต้มจากฝางเสนมาฉีดเข้าผิวหนังของหนูหรือกระต่ายทดลอง พบว่าจะทำให้หนูหรือกระต่ายมีการหลับสนิทได้เหมือนกัน และยังพบว่ามีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดของกบหดตัวได้อีกด้วย
  • สาร Brazilin มีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ ซึ่งในประเทศฮังการีมีรายงานว่า มีการใช้รักษาโรคหัวใจกบที่ถูกสารพิษเป็นผลสำเร็จ และสารนี้ไม่มีอันตราย แม้จะดื่มเข้าไปมากก็ไม่เกิดการสะสมตกค้างในร่างกาย
  • สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดของหลอดเลือดใหญ่ที่ตัดมาจากช่องอกของหนูแรท ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 10 ม.ค.ก./ม.ล.
  • สาร Hematein ที่แยกได้จากแก่นฝางสามารถช่วยลดการสะสมของไขมันบริเวณผิวหนังของหลอดเลือดกระต่ายทดลองได้
  • สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมทานอล, เมทานอล-น้ำ (1:1) และน้ำ สามารถช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ human HT-1080 fibrosarcoma cell โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ 15.8 , 13.8 และ 17.8 ม.ค.ก./ม.ล ตามลำดับ
  • สาร Brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝางมีฤทธิ์ในการระงับอาการอักเสบได้ดี จึงมีผลทำให้ระงับอาการหอบหืดด้วย อีกทั้งสารนี้ยังช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้าง Histamine จึงน่าจะช่วยป้องกันโรคหืดได้
  • น้ำต้มจากแก่น เมื่อนำมาให้หนูขาวทดลองกินหรือฉีดเข้าไปในตัวของหนูขาว พบว่าจะสามารถเพิ่มการขับปัสสาวะของสัตว์ทดลองได้ แต่ถ้าให้ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ไม่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ
  • สารที่สกัดได้จากแก่นฝางสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของหนูทดลองที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนได้
  • สาร brazilin ที่แยกได้จากสารสกัดแก่นฝางด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เท้าบวมได้ โดยการฉีด carrageenin ในขนาดใช้ 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • สารสกัดจากเนื้อไม้ฝางด้วยเอทานอล 70% สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Shigella flexneri, Vibrio cholerae และ Vibrio parahaemolyticus ที่ความเข้มข้น 5 ม.ก. และสารสกัดจากเนื้อไม้ฝางด้วยเอทานอล 95% สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia coli และ Shigella dysenteriae ได้ที่ความเข้มข้น 100 ม.ก.

  • สาร Sappanin ในแก่นฝางมีฤทธิ์ในการระงับเชื้อโรคได้
  • เมื่อนำฝางเสนมาแช่ในแอลกอฮอล์จะได้น้ำยาสกัดแอลกอฮอล์ที่มีสาร Brazilin ละลายอยู่ โดยน้ำยานี้สามารถช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้สูง เชื้อ Staphylococcus และโรคท้องร่วงระบาดได้
  • นอกจากจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส ยีสต์ ช่วยยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการแพ้ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันยับยั้งการงอกของพืชอื่น ๆ ลดอาการอักเสบ เสริมฤทธิ์ของบาร์บิทูเรต ช่วยยับยั้ง hepatitis B surface antige ตกตะกอนน้ำอสุจิ ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
  • การฉีดสารสกัดจากลำต้นของฝางแดงด้วย 50% เอทานอลเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูทดลองตาย 50% เท่ากับ 750 มก./กก. ซึ่งถือได้ว่าสารสกัดจากลำต้นของฝางแดงค่อนข้างมีความเป็นพิษ (ไม่แน่ใจว่ารวมไปถึงฝางเสนด้วยหรือไม่)



ประโยชน์ของฝาง
1.       ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งแก่นำไปต้มกินเป็นน้ำชา[8]
2.       ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง มีทั้งในรูปแบบพร้อมดื่มและแบบชง โดยช่วยบรรเทาอาการร้อนใน แก้เสมหะ บำรุงโลหิต แก้เลือดกำเดา
3.       แก่นไม้เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับใบเตยหรือผลมะตูม จะช่วยให้มีสีสันสวยงาม
4.       น้ำต้มจากแก่นฝางแดงจะให้สีแดงที่เรียกว่า Sappanin นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาอุทัย ผสมในน้ำดื่ม สีผสมอาหาร และนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์ส่วนฝางส้มจะนำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสีนิวเคลียสของเซลล์
5.       นอกจากจะใช้เนื้อไม้ในการย้อมสีแล้ว ยังนำมาทำเป็นสีทาตัวสำหรับงานเทศกาลในอินเดียอีกด้วย ซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื้อไม้ของต้นฝางถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ เป็นเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง รวมทั้งเคยเป็นสินค้าผูกขาดของรัฐอย่างหนึ่ง
6.       รากของต้นฝางจะให้สีเหลืองที่ใช้ทำสีย้อมผ้าและไหมได้ หรืออาจใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ได้
7.       ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้แก่นของต้นฝาง (ที่เหลาเป็นไม้จิ้มฟัน) ไปตอกลงบนต้นขนุนจนถึงเนื้อไม้ จะไปกระตุ้นให้ขนุนติดลูกบริเวณที่เราตอกลงไป
8.       เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนชั้นดี ตกแต่งชักเงาได้ดี โดยสีของเนื้อไม้จะออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
9.       ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา (เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก) แต่ต้องหมั่นตัดกิ่งที่เลื้อยพันออกเพื่อให้เป็นทรงตามต้องการ เมื่อออกดอกจะออกดอกดกสีเหลืองงามอร่ามเด่นชัด และยังนิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามชนบท

น้ำแก่นฝาง:น้ำยาอุทัยทำมือ บำรุงเลือด รักษาโลหิตจาง ยับยั้งมะเล็ง




หน้าตาแก่นฝางก็เป็นแก่นไม้แห้งๆ สีออกส้มๆ

  

แก่นฝาง มาจากแก่นไม้ของต้นฝาง ต้นฝางชนิดนี้คือ ฝางเสน เพราะว่าแก่นเป็นสีแดงเข้ม (มีอีกชนิดคือฝางส้ม ตัวแก่นจะเป็นสีเหลือง) สีแดงดังกล่าว เกิดจาก Brazilin ที่อยู่ในแก่นฝาง ซึ่งสารตัวนี้เมื่อถูกอากาศหรือแสงจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม  แต่เมื่อละลายได้ในน้ำ แอลกอฮอล์ อีเธอร์ และสารละลายด่าง จะให้สีแดงเข้ม (Carmine-red color) ด้วยลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าว เลยมีการนำมาน้ำยาอุทัยทิพย์ที่เรารู้จักกันดีสมัยเราเป็นวัยรุ่นแรกแย้ม และใช้เป็นครื่องสำอางค์ด้วย แต่ตัวแก่นฝางเองไม่มีกลิ่นใดๆ ที่เราได้กลิ่นในน้ำยาอุทัยทิพย์นั้น มาจากกลิ่นของสมุนไพร และดอกไม้อื่นๆกว่า 10 ชนิดที่ใส่เพิ่มลงไปเป็นสูตรลับเฉพาะของโอสถสภา ก็มีพวกหลาบ กระดังงา มะลิ จันทร์ชะมด จันทร์เทศ พิมเสน คำฝอย
สรรพคุณทางยาที่โดดเด่น
คุณสมบัติทางยาของสารประกอบในแก่นฝาง ได้จากสารในกลุ่มกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นหลัก และสารอื่นๆในกลุ่มสเตอรอยด์ (sterols) (สเตอรอยด์จากธรรมชาติไม่เป็นอันตราย แต่ที่กลัวกันเป็นสเตอรอยด์สังเคราะห์ทางเคมี) แก่นฝางมีสรรพคุณเด่นๆ ดังนี้
1.       (ข้อนี้ ดอกจัน 5 ดอกไปเลย เพราะเป็นจุดเด่นของเขาเลย) ช่วยบำรุงระบบเลือด
บำรุงโลหิตสตรี ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ  ขับระดู แก้อาการหัวใจขาดเลือด (จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก) กระจายเลือดที่อุดตัน ลดการปวดมดลูกในสตรีหลังคลอด ให้นำมาต้มกินก่อนประจำเดือนจำมา จะช่วยทำให้ประจำเดือนไม่เสียและมาสม่ำเสมอ อย่างผึ้งเอง เป็นคนเลือดน้อย มีประจำเดือนแค่ 3 วันเอง อย่างนี้ควรดื่มบำรุงด่วนๆเลย เนื่องจากสารสกัดในแก่นฝางมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด โดยสารสกัดจากแก่นฝางที่ความเข้มข้น 10ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด aorta ได้
แก้เลือดออกทางทวารหนัก และแก้อาการเลือดออกภายในอวัยวะต่างๆ เช่น แก้เลือดกำเดา แก้เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้หรือคนที่ขาดวิตามินเค มักเลือดไหลหยุดช้า คนที่เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย และคนที่มีเลือดกำเดาออกบ่อย ดื่มน้ำฝางจะค่อยๆ ช่วยให้เลือดหยุดไหลได้
2.       ช่วยต้านการอักเสบต่างๆในร่างกาย (Anti-inflammation) (Min et al., 2012) เช่น
แก้ปอดพิการขับหนอง รักษาวัณโรค ขับเสมหะ แก้โรคหืด แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ
ยกตัวอย่างงานวิจัยหนึ่ง เขาพบว่าสาร brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝาง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนู ที่ถูกทำให้เกิดการอักเสบที่เท้า (ฉีด Carageenin ในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
3.       ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้ จึงช่วยแก้ท้องเสีย ท้องร่วง
จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากแก่นฝาง ที่ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Staphylococcus aureus, Shigella flexneri, Vibrio cholerae และ V. parahaemolyticus และสารสกัดจากแก่นฝางที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Dysenteriae และ Escherichia coli ได้
4.       ยับยั้งเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และต้านอาการภูมิแพ้ชนิดต่างๆได้ดี
อันนี้น่าสนใจมากๆ เพราะมีการค้นพบว่า สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมธานอล-น้ำ (1:1) และน้ำ สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวน human HT-1080 fibrosarcoma cell ได้ ซึ่งเซลล์ดังกล่าว คือเซลล์มะเร็งที่มีคุณสมบัติแพร่กระจาย
 เห็นประโยชน์มากมายมาดูวิธีทำ
วิธีทำ 1. ต้มในน้ำเดือด โดยนำแก่นฝางประมาณ 5-6 ชิ้น ใส่ในน้ำหม้อหนึ่ง (น้ำประมาณ 1 ลิตร) แต่ปรับปริมาณได้ตามความต้องการว่าอยากได้สีชมพู หรือแดงแค่ไหน แล้วต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที จะเห็นน้ำเปลี่ยนเป็นเฉดสีชมพู ไปจนถึงแดงเหมือนกระเจี๊ยบ แล้วตักเอาแก่นออก ดื่มแบบอุ่นๆ หรือใส่น้ำแข็งดื่มให้ชื่นใจก็แล้วแต่ ส่วนแก่นที่เอาออกมา เอาไปผึ่งให้แห้ง สามารถเก็บไว้ต้มได้อีก 2-3 ครั้ง



 ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฝาง
  • ฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์
 เอกสารอ้างอิง
1.       ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  ฝาง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [29 เม.ย. 2014].
2.       ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  ฝาง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [29 เม.ย. 2014].
3.       หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  ฝาง”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). 
4.       หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  ฝาง Sappan Tree”. 
5.       หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  ฝาง (Fang)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). 
6.       หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ฝาง


ฝาง มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดแรกแก่นไม้จะเป็นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” กับอีกชนิดหนึ่งแก่นไม้จะเป็นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” ท...